วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Lesson P1 Fitted Skirt

ก้าวแรกของการสร้าง pattern ง่ายที่สู๊ดดดดด ก็คือการสร้างกระโปรงค่ะ

วันนี้ขอเสนอ " กระโปรงสอบ ผ่าหลัง ไม่มีขอบ "

มาลองเริ่มหัดเขียนกันดู ขอบอกว่า blog นี้ สะดวกมากๆค่ะ 

ไม่ต้องหนีบเครื่องคิดเลขหรือใช้สมองให้ปวดหัวอีกต่อไป

เพราะเราทำสูตรไว้ให้เรียบร้อย เพียงใส่ค่าที่ต้องใช้ในการสร้าง pattern เท่านั้น

blog นี้ก็จะคำนวณค่าให้เองค่ะ 1 2 3 เริ่มกันเลยค่ะ

 

1. ใส่ค่าเอว สะโพกเล็ก สะโพกใหญ่ ความยาวกระโปรงที่ต้องการให้เรียบร้อย แล้วกดคำนวณ


กรุณาใส่ค่าสัดส่วน





Front

AB&CD=สะโพกใหญ่+4 ÷4 +1
AE =3 ซม. (ถ้าคนที่ไม่มีเอวสามารถปรับให้น้อยกว่า 3 ซม.ได้)
ET=โค้งจากเอวถึงสะโพกใหญ่
BF=เอว ÷4 +1
G=1/2 ของ EF
BH=1/3 ของ BE
HI=1/2 ของ FE + 0.25 ซม.
J=1/2 ของ HI
JK=ยาวจากเอวถึงสะโพกเล็ก
IL=1/2 ของ BH
LM=1/2 ของ FE – 0.25 ซม.
N=1/2 ของ LM
NS=ยาวจากเอวถึงสะโพกเล็ก–1 ซม.

Back

AB&CD=สะโพกใหญ่ +4 ÷4 -1
BE=3 ซม. (หรือ วัดให้เท่ากับ AE ของชิ้นหน้า)
ET=โค้งจากเอวถึงสะโพกใหญ่
AF=1 ซม.
FR=ลากจากเอวถึงสะโพกใหญ่
FG=เอว÷4 -1
FI=1/3 ของ FE +1 ซม.
IJ=GE
K=1/2 ของ IJ
KL=ยาวจากเอวถึงสะโพกเล็ก + 3 ซม.
 
2. วาด pattern ในกระดาษเขียนแบบตามภาพด้านล่างเลยค่ะ 

3. ปรับแต่ง pattern ตามภาพ
    3.1 แต่งขอบ Front ต่ำลงมา 0.5 ซม. , Back ต่ำลงมา 1 ซม. พับเกล็ดก่อนแล้วค่อยโค้งเอวให้ได้รูปสวยงาม


    3.2 ทำกระโปรงสอบ วัด TH  ลงมา 5 ซม., การกำหนดความสอบเข้าของกระโปรง 1-3 ซม. แล้วแต่เราเลยค่ะ ระยะสอบเข้าต้องเท่ากันทั้งหน้าและหลัง
    3.3 ระยะซิปหลังวัดจากเส้นสะโพกใหญ่ขึ้นมา 1 ซม. และกำหนดระยะผ่าหลัง ใน pattern นี้กำหนดให้ขึ้นจากเส้นความยาวกระโปรงมา 3 นิ้ว
    3.4 ทำสาปข้างในกระโปรง โดยวัดต่ำจากขอบกระโปรง 5 ซม. โค้งให้ขนานขอบ กลิ้งใส่กระดาษอีกแผ่น

4. เสร็จสิ้นกระบวนการ ตกแต่งส่วนที่เป็นเส้นโค้งให้สวยงาม สรุปเราจะตัด pattern ได้ทั้งหมด 4 ชิ้น ได้แก่ กระโปรงชิ้นหน้า ชิ้นหลังและสาป  2 ชิ้น ตัดออกแล้วนำไปวางทาบกับผ้าได้เลยค่ะ



คราวหน้า จะลงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บทั้งหมดนะคะ